top of page

Kom i gang  เริ่มกันเลย

ประเทศนอร์เวย์ ใช้ภาษานอร์เวย์ในการสื่อสาร

❖ ภาษาราชการ มี 2 ภาษา คือ Norsk และ Samisk

- Norsk แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ Norsk bokmål และ Norsk nynorsk ใช้โดยชาวนอร์เวย์ทั่วไป

- Samisk ใช้โดยกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ทางเหนือของนอร์เวย์ ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณี และภาษาเป็นของตนเอง

* * * เว็บไซต์นี้ใช้แบบ bokmål

❖ คนนอร์เวย์

          - เรียกประเทศนอร์เวย์ว่า Norge นอร์เก๊ะ

          - เรียกภาษานอร์เวย์ว่า norsk  น้อร์สก (norsk bokmål และ norsk nynorsk)

          - เรียกชาวนอร์เวย์ว่า nordmann นูร์มัน / nordmenn นูร์เม็น (หลายคน)

❖ ตัวอักษรในภาษานอร์เวย์ มีทั้งหมด 29 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะ 15 ตัว (+5 ตัวที่ไม่ค่อยใช้) และ สระ 9 ตัว

          A a  อา

          B b  เบ

          C c  เซ          ไม่ค่อยใช้ในภาษานอร์เวย์

          D d  เด

          E e  เอ

          F f  แอ๊ฟ

          G g  เก

          H h  โฮ

           I i  อี

          J j  เย

          K k  โค

          L l  แอล

          M m  เอ็ม

          N n  เอ็น

          O o  อู

          P p  เพ

          Q q  คูว          ไม่ค่อยใช้ในภาษานอร์เวย์

          R r  แอ๊ร

          S s  เอ็ส

          T t  เท

          U u  อยู

          V v  เว

          W w  ดู๊บเบ๊ลท์เว   ไม่ค่อยใช้ในภาษานอร์เวย์

          X x  เอ็กส์          ไม่ค่อยใช้ในภาษานอร์เวย์

          Y y  อยี

          Z z  เซ็ท          ไม่ค่อยใช้ในภาษานอร์เวย์

          Æ æ  แอ

          Ø ø  เออ

          Å å  โอ

 

พยัญชนะ 15(+5) ตัว ได้แก่  B D F G H J K L M N P R S T V (C Q W X Z)

สระ 9 ตัว ได้แก่  A E I O U Y Æ Ø Å

❖ UTTALE วิธีการออกเสียง

    ● ออกเสียงทีละพยางค์ ตามหลักการออกเสียงพยัญชนะและสระ เช่น   far อ่านว่า ฟาร์,  leilighet อ่านว่า ไลลี่เหท

    ● คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวซ้ำหลังสระ จะออกเสียงสั้น เช่น   rett อ่านว่า เร็ท,  glass อ่านว่า กลั๊ส

    ● คำบางคำใช้สระ o (อู) แต่ออกเสียง å (โอ) เช่น   norsk อ่านว่า น้อร์สก,  tolk อ่านว่า โท้ลก์

    ● คำบางคำใช้สระ u (อยู) แต่ออกเสียงเป็น o สั้น (อุ) เช่น   tung อ่านว่า ทุง,  ung อ่านว่า อุง

    ● พยัญชนะ g (เก) + สระ e, i หรือ y มักจะออกเสียง 'ย' แทน เช่น   gift อ่านว่า ยีฟท์,  begynne อ่านว่า เบยี้นเนะ

    ● พยัญชนะ g บางครั้งออกก็เสียง 'ช' เช่น   giro อ่านว่า ชีรู

 

❖ DIFTONGER วิธีการออกเสียง เมื่อมีการผสมสระ 2 ตัวเข้าด้วยกัน

    ● ai  ไอ   เช่น   mai อ่านว่า ไม,  hai อ่านว่า ไฮ

    ● ei  ไอ   เช่น   lei อ่านว่า ไล,  vei อ่านว่า ไว

    ● au, eu  เอา   เช่น   maur อ่านว่า เมาร์,  sau อ่านว่า เซา

    ● øy  เอย   เช่น   gøy อ่านว่า เกย,  fornøyd อ่านว่า โฟร์เนยด์

 

❖ วิธีการออกเสียง เมื่อมีการผสมพยัญชนะ 2-3 ตัวเข้าด้วยกัน

    ● kj, ki, ky  ออกเสียง 'ช' เช่น   Kina อ่านว่า ชีน่า,  kre อ่านว่า เช่อเระ

    ● skj, sj  ออกเสียง 'ช' เช่น   skjære อ่านว่า แช่เระ,  sjalu อ่านว่า ชาลู

    ● sk + สระ i, y หรือ øy  ออกเสียง 'ช' เช่น   ski อ่านว่า ชี,  skøyter อ่านว่า เชยเต๊ร์

    ● ng  ออกเสียง 'ง' เช่น   mange อ่านว่า มังเง่ะ,  ting อ่านว่า ทิง

 

NB! เราไม่อ่านออกเสียง g (เก) และ h (โฮ) ในกรณีต่อไปนี้

    ● gj    เช่น   gjerne อ่านว่า แยร์เนะ,  igjen อ่านว่า อีเย่น

    ● hj    เช่น   hjelp อ่านว่า เยล็พ,  hjørne อ่านว่า เยอร์เนะ

    ● hv   เช่น   hvem อ่านว่า เว็ม,  hvorfor อ่านว่า วูร์โฟร์

 

หมายเหตุ  

 

- ผู้จัดทำไม่สามารถเขียนวิธีการอ่านได้ถูกต้อง 100% นะค่ะ เนื่องด้วยความแตกต่างของภาษานอร์เวย์และภาษาไทย

- คำบางคำสะกดเหมือนออกเสียงยาว แต่จริงๆออกเสียงสั้น เช่น   ung อ่านว่า อุง,   tung อ่านว่า ธุง,   dum อ่านว่า ดุม

- วิธีที่ดีสุด คือ ฟังคนนอร์เวย์พูดให้มากๆ และเลียนแบบเขาเอานะจ้ะ :D

Incomplete%20Giraffe%20Puzzle%202_edited

ลักษณะประโยคของภาษานอร์เวย์

1. ประโยคบอกเล่าทั่วไป ในภาษานอร์เวย์ จะเป็นแบบ SVO ซึ่งก็คือ  

 

     subjekt + verb + objekt 

     = ประธาน + กริยา + กรรม 

     Jeg gikk på tur i går.

     Han synger.

     De spiser opp maten.

     Mora mi vil ikke til legen.

บางครั้งเราสามารถสลับที่คำได้  และคำกริยาจะต้องอยู่หน้าประธาน เช่น

     I går gikk jeg på tur.

 

* คำที่เรานำมาสลับตำแหน่งนั้น มักจะเกี่ยวข้องกับวัน เวลา สถานที่ และ leddsetning

---

ครูชาวนอร์เวย์มักจะพูดถึง กฎ V2-regel อยู่บ่อยๆ ซึ่งหมายความว่า คำกริยา (verb) จะต้องอยุ่ตำแหน่งที่2 ในประโยคบอกเล่า

---

2. ประโยคคำถาม เราจะใช้ คำกริยาขึ้นก่อน เวลาเราสร้างประโยคคำถาม

   

     verb + subjekt + objekt?

     = กริยา + ประธาน + กรรม

     Gikk du på tur i går?

     Synger han?

     Spiser de opp maten?

     Vil ikke mora di til legen?

หรือ จะใช้ spørreord ขึ้นก็ได้ และตามด้วยคำกริยา

     Hva heter du?

     Hvorfor kommer du ikke?

     Når er det julaften?

Spørreord  ได้แก่

     hva   (หวา)   อะไร

     hvem   (เว็ม)   ใคร

     hvor   (วู้ร์)   ที่ไหน

     hvordan   (วู้ร์ดัน)   อย่างไร

     hvorfor   (วู้ร์ฟอร์)   ทำไม

     når   (โนร์)   เมื่อไหร่

- -

     hvor lenge   (วู้ร์ เล็งเง้ะ)   นานเท่าไหร่

     hvor høy   (วู้ร์  เฮย)   สูงเท่าไหร่

3. ประโยคคำสั่ง

     Gå vekk!   ไปไกลๆไป

     Spis opp!   กินให้หมด

     Ti stille!   เงียบสิ

     Legg deg nå!   ไปนอนเดี๋ยวนี้

     Ikke si det!   อย่าพูดถึงมันนะ

     Ikke dra!   อย่าไป

ประโยค 3 แบบข้างต้น เป็นประโยคง่ายๆที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน และทั้ง 3 อันนี้ เป็น Helsetninger 

ขณะเดียวกัน ยังมีประโยคอีกประเภทนึงที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า และมันมีชื่อว่า Leddsetninger 

 

Leddsetninger เป็นประโยคที่มีหน้าตาเหมือนประโยคบอกเล่าทั่วไป แต่จะมีความซับซ้อนในเรื่องการวางตำแหน่งคำ

     Han sier at han ikke vil komme.

     Jeg vet ikke hvorfor de skiller seg.

     Dersom du har timeavtale, ber vi deg om å vente til (at) du blir ropt opp.

Leddsetninger มักถูกใช้ในภาษานอร์เวย์เสมอๆ และจะซ้อนอยู่ใน Helsetninger

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยค ได้ที่ <<SETNINGER>>

  KONTAKT MEG 

e-postadresse : *****@***.com  |  Line : *****

  • Black Facebook Icon

Success! Message received.

© 2015 norskforthai Sandnes NORWAY

bottom of page